การคัดลอกตารางจากหน้าเว็บไปลงในเอ็กเซล

บ่อยครั้งที่มักประสบปัญหาการคัดลอกข้อมูลตารางจากหน้าเว็บแล้วนำไปลงในชีทของโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล หรือไมโครซอฟท์เวิร์ด ทั้งนี้เพราะโปรแกรมทั้งสองพยายามรักษารูปแบบ (Format) เดิมไว้ แต่กลับไม่พอดีหรือสวยงามตามที่ผู้ใช้ต้องการ หากจะตั้งค่ารูปแบบหลังจากคัดลอกแล้ว บางครั้งต้องตั้งหลายที่ หลายขั้นตอน และมักไม่สำเร็จ ดังนั้นจึงขอเสนอการแก้ปัญหานี้ที่สามารถทำได้โดยง่ายและสามารถนำไปใช้กับการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ใกล้เคียงปัญหานี้ได้ ดังนี้

สมมติคัดลอกตารางข้อมูลจากหน้าเว็บดังนี้

รูปภาพ

หลังจากนั้นนำไปวางในเอ็กเซล ถ้าเป็นเอ็กเซล 2010 ก็จะมีให้เลือกวางแบบพิเศษตามลูกศรชี้ในรูปถัดไป บางครั้งก็จะสำเร็จ คัดลอกได้ตามที่ต้องการ

รูปภาพ

 

แต่ถ้าบ่อยครั้งคัดลอกแล้วยังมีปัญหา หรือเป็นเอ็กเซลเวอร์ชันอื่นๆ จะมีปัญหาการจัดรูปแบบ ดังภาพถัดไป

รูปภาพ

 

ถ้ามีปัญหาดังนี้ การปรับรูปแบบด้วยเอ็กเซลเองค่อนข้างยุ่งยาก เราสามารถแก้ปัญหาได้โดยคัดลอกข้อมูลจากหน้าเอ็กเซล (ที่เพิ่งวางลงเมื่อกี้นี้) ทั้งหมด แล้วนำไปวางในโปรแกรม Notepad ดังภาพถัดไป

รูปภาพ

 

หลังจากนั้นคัดลอกทั้งหมดจาก Notepad กลับไปลงในเอ็กเซลอีกครั้ง แต่ต้องล้างข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในชีทเดิมก่อน สุดท้ายก็จะได้ข้อมูลที่ถูกล้างรูปแบบออกทั้งหมดดังภาพถัดไป

รูปภาพ

 

วิธีนี้สามารถแก้ปัญหาได้ทุกๆ โปรแกรมที่เกี่ยวกับความไม่เข้ากันของรูปแบบ (Format) แม้กระทั่งการคัดลอกจากไฟล์ PDF ไปลงโปรแกรมเวิร์ด ถ้ามีปัญหาคล้ายๆ แบบนี้ก็สามารถพักข้อมูลที่ Notepad ก่อนได้

แนวโน้มธุรกิจพลังงานทดแทน

ปัจจุบันพลังงานทดแทนเป็นที่สนใจและได้รับความใส่ใจมากขึ้น ทั้งนี้สาเหตุก็อันเนื่องมาจากพลังงานที่ใช้อยู่กำลังจำหมดไปในอีกไม่ช้า และการนำมาใช้ต้องแลกกับต้นทุนที่สูงกว่าแต่ก่อน ตลอดจนถึงการพยายามประชาสัมพันธ์แนะนำพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น 

งาน Innomart Technomart 2012 จากความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการสัมมนาในหัวข้อ “พลังงานทดแทนธุรกิจที่น่าลงทุน” ซึ่งชี้ให้เห็นแนวโน้มธุรกิจด้านพลังงานทดแทนที่น่าสนใจและมีโอกาสทำกำไรได้สูง พลังงานที่น่าสนใจมีดังนี้

 

พลังงานลมและแสงอาทิตย์

  พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจมากในปีที่ผ่านมา เนื่องจากการกระตุ้นธุรกิจจากภาครัฐด้วยการอุดหนุนราคาส่วนต่างการรับซื้อไฟฟ้าหรือที่เรียกกันว่า Adder ซึ่งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มที่ได้รับเงินส่วนต่างสูงอันดับต้นๆ ของจำนวนพลังงานทดแทนหลายชนิดจากภาครัฐนอกจากนี้ภาครัฐยังได้ปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเป็น 25% ใน 10 ปี โดยเพิ่มเพดานการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 500MW เปลี่ยนเป็น 2,000MW และพลังงานลมจากที่กำหนดไว้ไม่เกิน 800MW เปลี่ยนเป็น 1,200MW

พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ

  พลังงานจากชีวมวลและก๊าซชีวภาพก็เป็นพลังงานอีก 2 ชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมาทั้งนี้เนื่องจากสามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ง่าย โดยเฉพาะชุมชนการเกษตรโดยใช้ชานอ้อย แกลบ เป็นต้น และจากการปลูกไม้โตเร็วที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล ทำให้มีกำลังการผลิตที่มากเกินไป ภาครัฐจึงมีการปรับแผนจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3,700MW ลดลงเหลือ 3,630MW ส่วนก๊าซชีวภาพเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากวัตถุดิบหาง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากขยะและยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาขยะอีกด้วย อีกทั้งกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน เทคโนโลยีอีกพร้อมใช้งาน การลงทุนไม่สู ภาครัฐจึงปรับเพิ่มจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 120MW ขึ้นมาที่ระดับ 600MW

พลังงานจากขยะ

  ขยะนอกจากเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพแล้ว ยังสามารถนำมาผลิตพลังงานได้โดยตรงอีกด้วย โดยภาครัฐยังกำหนดไว้ตามแผนเดิมคือ 160MW เฉพาะขยะจากการสังเคราะห์เช่น พลาสติก เป็นต้น โดยรัฐบาลมีการผลักดันให้มีการผลิตพลังงานจากขยะเนื่องจากปริมาณขยะโดยเฉลี่ยสูงถึงราว 40,000 ตันต่อวัน ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ราว 500MW และนอกจากนี้ขยะพลาสติกก็สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันได้ โดยการสกัดปิโตรเลียมที่อยู่ในพลาสติก และสามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ดีเซลในอุตสาหกรรมได้ แต่หากต้องการใช้กับยานพาหนะจะต้องทำให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น  โดยรัฐบาลมีการประกันราคารับซื้อน้ำมันชนิดนี้จากผู้ผลิตรายย่อยด้วย

เอทานอลและไบโอดีเซล

  น้ำมันที่ใช้ในรถยนต์ปัจจุบันมีการผสมเชื้อเพลิงอื่นเข้าไปทั้งน้ำมันเบนซิน เช่น แก๊สโซฮอล์ E10-E85 และน้ำมันดีเซล หรือที่เรียกกันว่าไบโอดีเซลซึ่งเป็นการผสมเอทานอลลงไปในน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเอทานอลได้จากผลผลิตทางธรรมชาติเช่นอ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น โดยปัจจุบันเอทานอลที่ใช้มากที่สุดได้จากกากน้ำตาลหรือโมลาส ส่วนไบโอดีเซลผลิตจากปาล์มน้ำมัน

  พลังงานทดแทนทั้งหมดที่กล่าวมา ไบโอดีเซลมีแนวโน้มความต้องการของตลาดมากที่สุด เนื่องจากไบโอดีเซลสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบหลายชนิดไม่ได้จำกัดเพียงปาล์มน้ำมันเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องมาจากวิกฤติปาล์มน้ำมันขาดตลาดในปลายปี 2553 ทำให้มีการคิดค้นวิธีผลิตไบโอดีเซลจากพืชชนิดอื่นๆ เช่น บู่ดำ, การใส่สารเติมแต่งจนได้น้ำมัน ED95, การผลิตน้ำมันดีโซฮอล์, การผลิตน้ำมัน BHD เป็นต้น

คอมพิวเตอร์สเปคสูงแต่อืด

คอมพิวเตอร์สเปคสูงแต่อืด

คอมพิวเตอร์ปัจจุบันเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์เมื่อ 20 ปีที่แล้วจะเห็นว่ามีสเปคที่ต่างกันมาก แต่ผู้อ่านหลายท่านที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ยุคดังที่กล่าวมาคงจะพบว่าสิ่งที่ไม่ได้แตกต่างกันมากก็คือความเร็วในการทำงาน แม้ว่าซีพียู 80386 เมื่อ 20 ปีที่แล้วจะมีสัญญาณนาฬิกาเพียง 33 เมกกะเฮิรตซ์แต่ก็สามารถเปิดไมโครซอฟท์วินโดวส์ 3.1 ได้รวดเร็วดี ในขณะปัจจุบันซีพียู Core i3 สัญญาณนาฬิกา 3.4 กิกะเฮิรตซ์ (3,400 เมกะเฮิรตซ์) บูตไมโครซอฟท์วินโดวส์เซเว่นได้ช้ากว่า หรือยิ่งก่อนหน้านี้ซีพียู Core2Duo 3.0 กิกะเฮิรตซ์บูตวินโดวส์วิสตา ได้ช้ามากจนเรามักได้ยินหรือพูดศัพท์ใหม่กันติดปากว่า “คอมอืด” 

ความเป็นจริงนั้นในปัจจุบันหากพิจารณาทางด้านฮาร์ดแวร์ก็พบว่ามีการพัฒนาขึ้นมามากกว่า 20 ปีที่แล้วอย่างแน่นอน แต่ก็พบว่าซอฟท์แวร์ก็มีการพัฒนาขึ้นมากด้วยเช่นกัน แต่บางทีผู้ผลิตอาจจะพัฒนามากไปหน่อย โดยการพยายามให้ซอฟท์แวร์ของเขาฉลาดที่สุด จึงทำให้การประมวลผลของซีพียูต้องมีภาระมากขึ้น หลายท่านคงสังเกตได้ว่าความฉลาดหลายๆ อย่างมากกว่าครึ่งเราไม่ต้องการ อย่างเช่น ค่าเริ่มต้น (default) ของโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด 2010 ในส่วน Styles เขาจะพยายามปรับลักษณะที่เรากำลังพิมพ์อยู่ว่าเป็นหัวข้อ หรือไตเติล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยตรงความต้องการของผู้ใช้เลย แม้กระทั่งการพยายามใส่หัวข้อย่อยอัตโนมัติ จะเป็นเรื่องที่ฉลาดแต่ไร้ประโยชน์และยังเป็นการสร้างปัญหาอีก แต่ทุกๆ อย่างที่กล่าวมาผู้ใช้สามารถกำหนดใหม่ได้ทั้งหมดโดยเข้าไปตั้งค่าใน Styles ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในบทความนี้

การทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รู้สึกว่าช้า หรืออืดนั้น ปัจจุบันสเปคฮาร์ดแวร์ไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวของ แต่อย่างไรก็ตามลองพิจารณาตามหัวข้อต่อไปนี้แล้วลองเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้อยู่ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

1.กรณีใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซเว่น 32 บิต ซีพียูควรเป็นแบบดูอัลคอร์ (Dual Core) หน่วยความจำแรม (RAM) ควรมี 2 กิกะไบต์ แต่ถ้ามีแรม 4 กิกะไบต์ ต้องใช้วินโดวส์เซเว่น 64 บิตจึงจะมองเห็นหรือใช้แรมได้ครบทั้ง 4 กิกะไบต์

2.ฮาร์ดดิสต์ก็เป็นต้นเหตุคอมพิวเตอร์ช้าได้เช่นกัน ปกติฮาร์ดดิสต์จะไม่ค่อยเสียทีเดียวทั้งลูก แต่จะค่อยๆ ทยอยเสียเป็นเซคเตอร์ไป (Bad Sector) ซึ่งเมื่อระบบปฏิบัติการตรวจพบว่าพื้นที่ไหนเสียเขาจะไปเขียนข้อมูลลงตำแหน่งอื่นแทน ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการเขียนข้อมูล หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไม่เคยได้ยินเสียงแกรกๆ แล้วเกิดได้ยินขึ้นมาและรู้สึกคอมพิวเตอร์ช้าลง ก็คาดได้ว่าฮาร์ดดิสต์กำลังเริ่มมีปัญหา ให้ช่างวิเคราะห์อีกครั้งถ้าเสียแน่ๆ ควรเปลี่ยนก่อนที่ข้อมูลจะหายทั้งหมด

3.โปรแกรมป้องกันไวรัส ไม่ควรติดตั้งมากกว่า 1 โปรแกรม เพราะบางครั้งเขาทำงานขัดแย้งกันเอง เช่น Norton Anti-virus ลงคู่กับ McAfee Anti-virus ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้ากว่าติดไวรัสเสียอีก โปรแกรมป้องกันไวรัสฟรีที่แนะนำให้ใช้กับวินโดวส์เซเว่นชื่อว่า Avira Anti-virus ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปติดตั้งได้ฟรี แต่ขั้นตอนติดตั้งให้เลือกไม่ติดตั้งของแถมคือ Baidu PC Faster เพราะผู้เขียนพบว่ารบกวนเครื่องมากว่าจะช่วยให้เกิดประโยชน์

4.ในการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ มักจะมีโปรแกรมที่ไม่ต้องการแถมมาด้วย ผู้ใช้ต้องสังเกตให้ดีด้วย ไม่ใช่กด Next หรือ Yes อย่างเดียว นอกจากของแถมแล้วโปรแกรมมักชอบติดตั้งตัวเองให้วินโดวส์เรียกทำงานอัตโนมัติเมื่อวินโดวส์เปิดขึ้นมา (Windows Startup) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คอมอืด บูตช้าเพราะมัวเสียเวลาไปรันโปรแกรมที่เราไม่ได้ใช้ เมื่อรันแล้วทำให้เสียแรมไปด้วย เหลือแรมสำหรับใช้งานโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการน้อย ทำให้วินโดวส์ต้องไปใช้เวอร์ชวลแรมบนฮาร์ดดิสแทน ซึ่งจะช้ากว่ามาก วิธีแก้ปัญหานี้ไม่ยุ่งยากสามารถดำเนินการได้ดังนี้

รูปภาพ

 

1.คลิ๊กปุ่ม Start

2.พิมพ์ msconfig แล้วกดปุ่มเอนเทอร์บนคีย์บอร์ด

3.คลิ๊กที่แท็ป Startup

4.ติ๊กเครื่องหมายถูกหน้ารายการออกให้หมด เอาไว้เฉพาะที่สำคัญคือโปรแกรมป้องกันไวรัส ในส่วนของผู้เขียนใช้ Avira Free Antivirus ถ้าผู้อ่านใช้โปรแกรมอื่นก็จะไม่เหมือนกัน ต่อมา Cisco NAC Agent เป็นโปรแกรมลงทะเบียนใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของหน่วยงาน ส่วน Microsoft Windows … นั้นเป็นนาฬิกาที่อยู่บนเดสท์ท็อป โปรแกรม WinMySQL … ของผู้ใช้ทั่วไปจะไม่มี อันสุดท้าย Bluetooth … ก็เป็นโปรแกรมจัดการบลูทูธ เอาไว้แค่นี้ก็พอ

5.คลิ๊กที่แท็ป Service 

6.คลิ๊กที่ Hide all Microsoft services (ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ห้ามข้ามเด็ดขาด)

7.ติ๊กเครื่องหมายถูกออกให้หมด เอาไว้เฉพาะของโปรแกรมป้องกันไวรัส หรือถ้าผู้อ่านมีโปรแกรมพิเศษใดๆ ก็ใช้ดุลพินิจในการเลือกเอง

8.คลิ๊กปุ่ม OK แล้วคลิ๊กเลือกรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้อ่านจะได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บูตเร็วขึ้น และทำงานเร็วขึ้นอย่างแน่นอน

 

ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

ในอดีตเตารีด ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดในบ้าน เพราะมีอัตราใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 800 วัตต์จนถึง 1,200 วัตต์ อีกอย่างหนึ่งคือตู้เย็น บางทีเราเสียดายที่ตู้เย็นขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มีราคาแตกต่างกันไม่มาก เราก็เลยเลือกที่จะซื้อตู้เย็นใหญ่ๆ ไว้ก่อนทั้งๆ ที่ตู้เย็นขนาดใหญ่มีอัตราการใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องใช้หลายอย่างที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กระแสไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง ซึ่งจะขอยกตัวอย่าง 15 ชนิดดังนี้ 

รูปภาพ

การคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ

เครื่องใช้ไฟฟ้า

การใช้งาน

ค่าไฟหน่วยละ

3.2 บาท

1.เครื่องทำน้ำอุ่น

10,000 วัตต์วันละ 1 ชั่วโมง 30 วัน ลวดความร้อนทำงาน 80 เปอร์เซ็นต์((10,000×1)/1000)x30x3.2×0.8

768.00

2.เครื่องปรับอากาศขนาด 9,000 บีทียู

1,000 วัตต์ เปิดวันละ 10 ชั่วโมง 30 วันคอมเพรสเซอร์ทำงาน 80 เปอร์เซ็นต์ ((1,000×10)/1000)x30x3.2×0.8

768.00

3.เครื่องซักผ้า ชนิดมีเครื่องอบ

3,000 วัตต์ ซักสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที 4 สัปดาห์((3,000×1.5×2)/1000)x4x3.2

115.20

4.เตารีดไฟฟ้า

1,200 วัตต์ ถ้ารีดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง 4 สัปดาห์((1,200x2x2)/1000)x4x3.2

61.44

5.หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 1.5 ลิตร

550 วัตต์ หุงครั้งละ 15 นาทีวันละ 2 ครั้ง 30 วัน หุงเสร็จถอดปลั๊กไฟ((550×0.25×2)/1000)x30x3.2

26.40

6.เตาหุงต้มไฟฟ้า

800 วัตต์ ใช้ครั้งละ 30 นาทีวันละ 2 ครั้ง 30 วัน

((800×0.5×2)/1000)x30x3.2

76.80

7.เครื่องดูดฝุ่น

1,200 วัตต์ ใช้สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 4 สัปดาห์

((1,200×1)/1000)x4x3.2

15.36

8.เครื่องปิ้งขนมปัง

750 วัตต์ ใช้ครั้งละ 12 นาทีวันละ 1 ครั้ง 30 วัน

((750×0.2×1)/1000)x30x3.2

14.40

9.เครื่องเป่าผม

900 วัตต์ใช้ครั้งละ 5 นาทีวันละ 1 ครั้ง 30 วัน

((900×0.08×1)/1000)x30x3.2

6.91

10.เตาไมโครเวฟ

700 วัตต์ใช้ครั้งละ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง 30 วัน

((700×0.25×2)/1000)x30x3.2

33.6

11.หม้อชงกาแฟ

350 วัตต์ใช้ครั้งละ 6 นาทีวันละ 1 ครั้ง 30 วัน

((350×0.1×1)/1000)x30x3.2

3.36

12.โทรทัศน์

จอแอลอีดีแบ็คไลท์

80 วัตต์ใช้วันละ 6 ชั่วโมง 30 วัน

((80×6)/1000)x30x3.2

46.08

13.ตู้เย็น 7 ลูกบาศก์ฟุต

110 วัตต์ใช้วันละ 24 ชั่วโมง 30 วันคอมเพรสเซอร์ทำงาน 20 เปอร์เซ็นต์ ((110×24)/1000)x30x3.2×0.2

50.69

14.พัดลมเพดาน

100 วัตต์ใช้วันละ 5 ชั่วโมง 30 วัน

((100×5)/1000)x30x3.2

48.00

15.พัดลมตั้งพื้น

40 วัตต์ใช้วันละ 10 ชั่วโมง 30 วัน

((40×10)/1000)x30x3.2

38.40

 

ตัวอย่างที่ได้กล่าวมานี้ได้สมมติให้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงให้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากไม่ตรงกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ก็สามารถคำนวณเปรียบเทียบจากตัวอย่างได้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การใช้พัดลมตั้งพื้นวันละ 10 ชั่วโมง ประหยัดกว่าเปิดเครื่องปรับอากาศถึงเดือนละ 729.6 บาท ดังนั้นถ้าอากาศไม่ร้อนมากนักใช้พัดลมแทนการเปิดเครื่องปรับอากาศจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

 

ค่า EER บอกประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ

EER (Energy Efficiency Ratio) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่ อย่างไร มีหน่วยเป็น (Btu/hr.)/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง (Output) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็น (Input) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดียิ่งขึ้น

รูปภาพ

ดังนั้นถ้าเครื่องปรับอากาศ 12000 Btu/1142.86 W จะมีค่า EER เท่ากับ 10.5 ถ้าค่า EER สูงนั้นแสดงว่าเครื่องปรับอากาศนั้นมีประสิธิภาพในการใช้พลังงานที่ดีนั้นคือเครื่องปรับอากาศก็จะประหยัดไฟได้ดี  โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศมักจะบอกขนาดเป็นบีทียูต่อชั่วโมง (Btu/hr.) แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเรียกสั้นๆ ว่าบีทียูBtu เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า   British  thermal   units “ความหมายของ  1  บีทียู ก็คือ ปริมาณความร้อนที่เพิ่มอุณหภูมิของน้ำ 1 ปอนด์ (0.45  กิโลกรัม) อณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์  (0.56 องศาเซลเซียส) ในเวลา 1 ชั่วโมง” british thermal unit per hour (btu/hr) หมายถึง the amount of heat required to raise one pound of water by one degree fahrenheit in one hour. 1  บีทียู  เท่ากับ   1,055  จูล หน่วย  12,000  บีทียู/ชั่วโมง มักจะเรียกว่า  1  ตันทำความเย็น ซึ่งจะหมายถึงว่าปริมาณความร้อนที่สามารถละลายน้ำแข็งหนัก 1 ตันให้ละลายเป็นน้ำได้หมดในเวลา 1 ชั่วโมง โดยทั่วไป ในเนื้อที่  1 ตารางฟุต  ดึงความร้อนออกประมาณ  30  บีทียู  ดังนั้นเนื้อที่ประมาณ  2000  ตารางฟุต  (185.5  ตารางเมตร)  ต้องใช้เครื่องปรับอากาศขนาด  60,000  บีทียูหรือขนาด 5 ตันทำความเย็น อย่างไรก็ตามเป็นการคำนวณคร่าว ๆ  เพราะจะต้องรวมของที่อยู่ในห้อง จำนวนคน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

**หมายเหตุ

มาตราฐาน มอก.2134-2545      คือ      EER 9.6

เบอร์ 5 ปี 2005                    คือ      EER 10.6

เบอร์ 5 ปี 2006                    คือ      EER 11.0

เบอร์ 5 Premium ปี 2006       คือ      EER 11.5   

เบอร์ 5 Premium ปี 2006       คือ      EER 11.5

——————————-

ที่มา :

http://khemmanan.igetweb.com/?mo=3&art=114672

http://www.carrier.co.th/knowledge/tips_1.asp

25 วิธีประหยัดน้ำมันรถยนต์

1. ตรวจสอบปริมาณลมหรือความตึงของยางล้อรถอย่างสม่ำเสมอ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้นจะเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างล้อกับถนนให้มากขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น

2. สับเปลี่ยนยางหน้าและหลังตามกำหนด เพราะอัตราการสึกหรอล้อหน้าและล้อหลังไม่เท่ากัน การสลับยางหรือพลิกหน้ายางช่วยให้ยางสึกหรอเท่ากันและประหยัดน้ำมันด้วย

3. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ การติดเครื่องยนต์รอบเดินเบาทิ้งไว้ 10 นาที จะเสียน้ำมันประมาณ 200 ซีซี

4. ไม่ออกรถกระชากหรือขับรถด้วยความเร่งมากๆ การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่าๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล 700 เมตร

5. ไม่ต้องเร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่าเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าวแสดงถึงการขาดความมั่นใจในการขับรถ กลัวเครื่องยนต์ดับขณะออกตัว การเร่ง 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร

6. หมั่นสังเกตุความผิดปกติของเครื่องยนต์ และควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัวคอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่-อ่อนให้พอดี จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 10% เปลี่ยนออกซิเจนเซนเซอร์ตามระยะหนึ่งแสนหรือหนึ่งแสนสองหมื่นกิโลเมตรแล้วแต่รุ่นรถ

7. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง ขับช้าๆ ประมาณ 1-2 กิโลเมตรเครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง

8. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูง

9. ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (Car pool) ไปไหนมาไหน ที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกัน ควรใช้รถคันเดียวกัน

10. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน บางครั้งเรื่องบางเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ได้ ประหยัดน้ำมันประหยัดเวลา

11. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย

12. ก่อนไปพบใคร ควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลา ไม่เสียน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์

13. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองน้ำมันในการวนหา

14. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ท หรือใช้บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน

15. ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน

16. หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนานไม่ต้องเผชิญปัญหาจราจร ช่วยประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน

17. ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือสังเกตที่ความเร็วแรกของเกียร์สุดท้ายสำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ เช่น ถนนเรียบๆ รถบางรุ่นเกียร์เปลี่ยนเป็นเกียร์ 5 ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ขับประคองความเร็วที่ 80-90 ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้ดีที่สุด

18. สำหรับรถที่ไม่ใช่เกียร์อัตโนมัติไม่ควรขับรถลากเกียร์ เพราะการลากเกียร์ต่ำนานๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย

19. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้นเช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี

20. ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

21. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน

22. สำหรับเครื่องยนต์แบบเบนซิน ควรเลือกเติมน้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด ถูกประเภท โดยเลือกตามค่าออกเทนที่เหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ (สังเกตจากฝาปิดถังน้ำมันด้านใน หรือรับคู่มือที่ปั้มน้ำมันใกล้บ้าน

23. ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลาช่วงเช้าๆ เปิดกระจกรับความเย็นจากลมธรรมชาติได้

24. ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็นหรือเปิดจนหนาวเกินไป

25. มีสมุดประจำรถสำหรับจดบันทึกระยะทางที่วิ่งได้และการเติมน้ำมันทุกครั้ง เพื่อย้อนคำนวณอัตราการสิ้นเปลืองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้สามารถสังเกตุความผิดปกติของเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด

————————

 

ดัดแปลงแก้ไขจาก :

http://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html

ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยการติดแท็งค์เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท

เครื่องพิมพ์ปัจจุบันที่นิยมใช้มีสามชนิดคือ 1.ชนิดดอทเม็ททริกเหมาะสำหรับงานบัญชีที่ต้องพิมพ์ต้นฉบับพร้อมสำเนา 2.ชนิดเลเซอร์ ปัจจุบันราคาเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้ลดลงอย่างมากข้อดีคือความเร็วของการพิมพ์ แต่ปกติที่ใช้งานมากจะเป็นชนิดพิมพ์ได้เฉพาะขาว-ดำ ส่วนเครื่องพิมพ์เลเซอร์ชนิดสีนั้นตลับหมึกพิมพ์ยังมีราคาสูงอยู่ ผู้ใช้งานทั่วๆ ไปจึงยังไม่นิยมใช้ 3.ชนิดอิงค์เจ็ทข้อดีคือสามารถพิมพ์สีได้ ซึ่งปัจจุบันเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด แต่ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คือต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นกระดาษจะสูงที่สุด ยกตัวอย่างยี่ห้อ Canon รุ่น PIXMA MP237 ใช้ตลับหมึกดำรุ่น PG-810 และตลับหมึกสีรุ่น CL-811 ซึ่งราคาของตลับหมึกทั้งสองรวมกันประมาณ 1,200 บาท ในขณะที่พิมพ์ได้อย่างมากสุดประมาณ 600 แผ่นกระดาษ A4 เท่านั้น เฉลี่ยแผ่นละ 2 บาท ถ้าเราต้องการพิมพ์ 3,000 แผ่นจะต้องเปลี่ยนตลับหมึกถึง 5 ชุด เป็นราคา 6,000 บาท ในขณะที่จากการทดลองเติมน้ำหมึกให้กับตลับหมึกแทนการเปลี่ยนตลับหมึกใหม่ พบว่าตลับหนึ่งชุดสามารถพิมพ์ได้มากกว่า 3,000 แผ่น ซึ่งนอกจากสามารถลดค่าใช้จ่ายได้แล้วยังสามารถลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากการทิ้งตลับหมึกได้อีกด้วย

การเติมน้ำหมึกโดยการถอดตลับหมึกออกจากเครื่องแล้วฉีดน้ำหมึกลงในตลับโดยตรงมีข้อแนะนำทุกยี่ห้อว่า ควรถอดปลั๊กไฟของเครื่องพิมพ์ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีก่อนจะถอดตลับออก ทั้งนี้เพราะเครื่องพิมพ์เกือบทุกยี่ห้อจะตรวจจับพฤติกรรมการถอดตลับของผู้ใช้ เมื่อตลับเดิมมีสถานะว่าหมึกใกล้หมด หรือหมึกหมดแล้ว และมีการถอดออกมาเติมน้ำหมึกแล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ เครื่องพิมพ์จะไม่ทราบว่าน้ำหมึกกลับมาเต็มแล้ว แต่จะระงับการใช้งานตลับนั้นเลย ซึ่งบางรุ่นพอจะมีวิธีแก้ปัญหาอยู่บ้างแต่ไม่สำเร็จเสมอไป (สามารถหาวิธีการได้ตามในเครือข่ายออนไลน์) นอกจากนี้การเติมน้ำหมึกบ่อยๆ อาจจะไม่สะดวกสำหรับการใช้งานพิมพ์ในปริมาณมากๆ ดังนั้นถ้าติดแท็งค์น้ำหมึกเพื่อให้น้ำหมึกเติมลงไปเองขณะที่พิมพ์ จะสามารถช่วยให้พิมพ์งานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าน้ำหมึกจะหมดเมื่อไหร่ ทั้งนี้เรามองเห็นน้ำหมึกได้ และสามารถเติมได้โดยง่ายลงในแท็งค์โดยตรง วิธีการติดตั้งแท็งค์ไม่ยุ่งยาก สามารถดำเนินการได้ดังนี้

1.อุปกรณ์ที่จะต้องมี เข็มฉีดยา น้ำหมึก สว่านขนาด 3.5 มิลลิเมตร กาวร้อน

รูปภาพ

2.เครื่องพิมพ์ (บทความนี้ใช้ยี่ห้อ Canon รุ่น PIXMA MP237 ) และชุดแท็งค์น้ำหมึกเอนกประสงค์ (มีขายทั่วๆ ไปชุดละ 100-150 บาท) ซึ่งประกอบไปด้วย แท็งค์ 4 ช่อง สายน้ำหมึก จุกยางสองหัว 4 สี (ดำ ฟ้า ม่วง เหลือง) กรองอากาศ และตีนตุ๊กแกสำหรับยึดสายน้ำหมึก 3 ชิ้น ยางซิลิโคน 4 ชิ้น ข้องอ 4 ชิ้น

รูปภาพ

*ภาพนี้กล้องถ่ายภาพปรับสีเพื้ยนจากสีเหลืองเป็นสีเขียว (จริงๆ แล้วสีเหลือง)

3.  ตัดสายน้ำหมึกสีดำออก 4 เซนติเมตร สีเหลืองออก 1.5 เซนติเมตร ยางซิลิโคนตัดออกให้เหลือ 3 มิลลิเมตร ท่องอตัดออกให้เหลือ 4 มิลลิเมตร เจาะรูตลับหมึกด้วยสว่าน สำหรับสีดำ ฟ้า และเหลืองให้เจาะตรงกับรูระบายอากาศของตลับได้เลย แต่สีม่วงให้เจาะต่ำกว่ารูระบายประมาณ 4 มิลลิเมตรและใช้กาวร้อนปิดรูระบายอากาศดังกล่าวด้วย

รูปภาพ

4.ใช้กาวร้อนติดแท็งค์เข้ากับตัวเครื่องพิมพ์ โดยให้ขอบบนของแทงค์สูงกว่าเครื่องพิมพ์ 0.5 เซนติเมตร รวมทั้งใช้กาวร้อนติดตีนตุ๊กแกสำหรับยึดสายน้ำหมึกด้วย (ภาพที่ 5 และ 6 นับจากภาพถัดไป)

รูปภาพ

5. ใช้จุกยางหัวเล็กปิดรูเล็กของแทงค์และเติมน้ำหมึกฝั่งรูใหญ่ ไม่ต้องเติมให้เต็ม ให้เหลืออากาศในแท็งค์ดังภาพถัดไป และเติมน้ำหมึกให้ครบทั้ง 4 สี

รูปภาพ

6.นำยางซิลิโคนใส่ลงในรูของตลับหมึกที่ได้เจาะไว้ นำข้องอต่อกับสายน้ำหมึก และนำข้องอใส่ลงในรูยางซิลิโคน ดังภาพถัดไป

รูปภาพ

7.นำแผ่นพลาสติกที่ปิดหัวพิมพ์ของตลับหมึกออก แล้วนำตลับหมึกใส่ในตำแหน่งดังภาพถัดไป

รูปภาพ

 

8.เก็บสายน้ำหมึกวนออกทางตลับดำ และวนในร่องตัวล็อคตลับหมึก หยอดกาวร้อนทับสายน้ำหมึกในร่องนี้เพื่อไม่ให้สายน้ำหมึกหลุดออกจากร่อง โยกตลับหมึกไปทางซ้ายมือ และยึดสายน้ำหมึกด้วยตีนตุ๊กแก

รูปภาพ

9.ปิดฝา ใช้จุกยางใหญ่ปิดรูใหญ่ของแท็งค์ และเปิดจุกเล็กแล้วเอากรองอากาศใส่ในรูเล็กแทน

รูปภาพ

 

10.ทดลองเสียบปลั๊ก เปิดเครื่อง ถ้าขึ้นไฟกระพริบที่สัญลักษณ์เตือนแสดงว่าสายน้ำหมึกตึงเกินไป ตลับหมึกไม่สามารถเลื่อนไปซ้าย-ขวาได้สุด ต้องผ่อนสายน้ำหมึกให้หย่อนอีก และควรให้พอดี หย่อนมากก็เกิดปัญหาได้ ถ้าแก้ปัญหาทุกอย่างได้และไม่มีสัญญาณเตือนก็สามารถทดลองถ่ายเอกสารได้ และเป็นอันเสร็จกระบวนการ

*หมายเหตุ เมื่อพิมพ์ไปประมาณ 150-200 แผ่น เครื่องจะไม่พิมพ์ต่อแม้ว่าเราได้สั่งพิมพ์ไปแล้ว ให้แก้ปัญหาโดย กดปุ่ม Stop/Reset ค้างไว้ประมาณ 20 วินาที เครื่องพิมพ์ก็จะพิมพ์ต่อและไม่มีปัญหาใดๆ อีกเลย ข้อดีของการติดแท็งค์แบบนี้จะเห็นว่าน้ำหมึกจะไม่ล้นตลับ ก็เลยไม่ต้องต่อสายน้ำหมึกเสียทิ้ง นอกจากนี้จะเห็นว่าไม่มีการดัดแปลงตัวเครื่อง หากมีการเสียในระยะการรับประกัน สามารถถอดแท็งค์ออกและหาตลับหมึกอื่นที่ไม่มีการเจาะใส่แทนชั่วคราวและส่งเคลมได้ แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ติดแท็งค์มาแล้วมากกว่า 100 เครื่องพบว่าเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ของยี่ห้อ Canon ไม่เคยเสียในระยะการรับประกันเลย ตั้งแต่รุ่น MP145 MP150 MP160 MX308 MX318 MP245 MP258 MP268 MP276 MP287 MX328 MX338 และรุ่นปัจจุบันที่นิยมใช้คือ MP237 รุ่นดังกล่าวเหล่านี้เป็นประเภท All in One นอกจากพิมพ์ได้แล้วยังสแกนภาพและถ่ายเอกสารได้ด้วย ในขณะที่ราคาต่างจากรุ่นที่พิมพ์ได้อย่างเดียวไม่ถึงหนึ่งพันบาท จึงมีความคุ้มค่ากว่าการติดแท็งค์เครื่องพิมพ์รุ่นที่พิมพ์ได้อย่างเดียว (แต่ก็สามารถติดได้โดยไม่มีปัญหาประการใด) 

นอกจากนี้ จากการตั้งข้อสังเกตุของผู้เขียนพบว่าผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ปัจจุบันแข่งขันกันลดราคาเครื่องพิมพ์อย่างมาก และมาเน้นขายตลับหมึกแทน (เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ก็เช่นกัน) ซื้อเครื่องใหม่ถูกกว่าการซื้อตลับหมึกแท้ ที่ถูกกว่าเพราะตลับหมึกที่มากับเครื่องใหม่นั้นจะมีปริมาณน้ำหมึกน้อยกว่าตลับหมึกที่ขายแยก เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทบางยี่ห้อให้ตลับที่มากับเครื่องใหม่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนตลับแยกขายแต่ปริมาณน้ำหมึกด้านในมีเพียง 3 ซีซี พิมพ์ได้มากสุดไม่เกิน 200 แผ่นกระดาษ A4 เท่านั้น นั่นเป็นเทคนิคลดราคาขายเครื่องใหม่เพื่อการแข่งขันทางการตลาดของผู้ขาย แต่เราในฐานะผู้บริโภคควรใช้ดุลยพินิจด้วยว่า บริโภคอย่างไรให้ทำลายโลกน้อยที่สุด (รวมถึงบริโภคอย่างไรให้เป็นทาสเทคโนโลยีให้น้อยที่สุดด้วย)

 

วิธีแก้ไวรัสซ่อนไฟล์แฟลชไดรว์

1.คลิกที่ปุ่ม [Start] พิมพ์ cmd ในช่อง Search programs and files และกด [Enter]

รูปภาพ

2.ถ้าแฟลชไดรว์คือไดรว์ G ให้พิมพ์ G:

3.พิมพ์ attrib –s –h –a –r /s /d และกด [Enter]

รูปภาพ

4.รอซักครู่ จะมองเห็นไฟล์ที่ถูกซ่อน ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอน

ประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยการไม่รีดผ้า

การรีดผ้าเป็นกิจวัตรประจำวันหรือประจำสัปดาห์ของคนวัยทำงานโดยเฉพาะงานสำนักงานที่จะต้องมีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ แม้กระทั่งคนทำงานประเภทอื่นคงมีน้อยคนนักที่ไม่รีดเสื้อผ้าชุดที่ใส่ไปทำงาน ตลอดจนถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษาก็ต้องรีดผ้ากันเกือบทุกคน แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีซักกี่คนที่คิดคำนึงถึงพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ไปในการรีดผ้านี้ บางครั้งเรารีดอย่างดี แต่แค่เรานั่งบนเก้าอี้กางเกงก็กลับมายับอีก แม้กระทั่งเรานั่งรถยนต์หรือสะพายกระเป๋าเสื้อที่เราใส่ส่วนใหญ่ก็จะกลับมายับอีก เมื่อเราไปถึงที่ทำงานเสื้อผ้าของเรา ก็ไม่ได้เรียบเหมือนตอนรีดเสร็จใหม่ๆ อยู่ดี หรือว่าการรีดผ้าเป็นค่านิยม เพื่อความมั่นใจ ขอให้ได้รีดซักหน่อย แม้ว่าสุดท้ายไม่ได้เรียบอย่างที่ต้องการก็ไม่เป็นไร เตารีดที่ขาย ในท้องตลาดทั่วไปและที่เราใช้กันปัจจุบันมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1 กิโลวัตต์ ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับหลอดไฟฟ้าแสงสว่างแบบหลอดตะเกียบขนาด 10 วัตต์จำนวน 100 ดวง ถ้า เป็นอย่างนี้เราลองมาดูข้อมูลที่คำนวณคร่าวๆ โดยคุณปรเมศวร์ กุมารบุญ (2556) พบว่าคนไทยใช้พลังงานไฟฟ้าในการรีดผ้าถึง 7,200,000 เมกะวัตต์ต่อปี ในขณะที่โรงไฟฟ้า พลังน้ำเขื่อนภูมิพลซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลางผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงสูด 731 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมงหรือ 6,403,560 (731x24x365) เท่านั้นซึ่งจะเห็นว่ายังไม่เพียงพอสำหรับให้คนไทยรีดผ้าเลย

อย่างไรก็ตามคงไม่ง่ายนักที่เราจะใส่เสื้อผ้ายับๆ ไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือ จากการได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ พบว่ามีคำแนะนำมากมายทั้งชนิดของเสื้อผ้า (ดวงสุวรรณ, 2555) วิธีการซัก (บรีส, 2553) และจากการทดลองด้วยตัวผู้เขียนเองพบว่ามีวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ดังนี้
– ผ้าใยสังเคราะห์ส่วนใหญ่จะนำมาผลิตเป็นเสื้อยืด กางเกงยืด กระโปรงยืด เสื้อโปโล ไม่ว่าซักอย่างไรก็จะไม่ค่อยยับ แม้จะยับแต่เมื่อสวมใส่ก็จะคลายตัวได้เอง ดังนั้นไม่ต้องรีดผ้าประเภทนี้
– ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเสื้อผ้าครั้งต่อไปชนิดของผ้าควรเป็นผ้าใยกึ่งสังเคราะห์ ส่วนผสมจากธรรมชาติและปิโตรเคมี หรือที่เรียกว่าผ้าเรยอน อาซิเตท ทั้งนี้เพราะถ้าเป็นใย ธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์เมื่อยับแล้วจะใช้พลังงานความร้อนสูงในการรีด ในขณะที่ถ้าเป็นผ้าใยสังเคราะห์ร้อยเปอร์เซ็นต์แม้จะไม่ยับและแทบไม่ต้องรีด แต่จะซับเหงื่อได้ไม่ดี สวมใส่ไม่สบาย การซักผ้าใยกึ่งสังเคราะห์มีข้อแนะนำดังนี้
1.ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มในการซักน้ำสุดท้าย ไม่ว่าจะซักด้วยมือหรือซักด้วยเครื่องซักผ้าก็ตาม
2.ไม่ต้องปั่นหมาดหรือปั่นแห้ง ให้นำขึ้นมาสะบัดและตากอย่างนั้นเลย อาจจะใช้เวลาแห้งช้าแต่ขึ้นอยู่กับการวางแผนการซักให้ทันการใช้งาน
3.จากการปฏิบัติของผู้เขียนพบว่าผ้าใยกึ่งสังเคราะห์เมื่อทำตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 พบว่าจะไม่ยับและไม่ต้องรีด
-ผ้าใยธรรมชาติ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของผ้าใยกึ่งสังเคราะห์ หลังจากนั้นสามารถพิจารณาว่าจะต้องรีดหรือไม่ บางครั้งผ้าประเภทนี้เรียบตั้งแต่การสวม
ใส่ครั้งที่แล้วซักเสร็จก็ยังยับไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องรีดทุกครั้งหลังการซัก หากมีความจำเป็นต้องรีดควรใช้ความร้อนและความชื้นให้เหมาะสม ตามคำแนะนำของบรีส ดังนี้
1.ผ้าฝ้าย – รีดผ้าหมาดนิดหน่อยบนด้านนอก และใช้ไฟร้อน
2.ผ้าลินิน – รีดผ้าหมาด ๆ บนด้านในก่อน และ ค่อยกลับมารีดด้านนอกเพื่อให้ผ้าส่งประกายโดยเฉพาะสีชมพูแดง หรือ สีอ่อน สำหรับผ้าลินินสีเข้มรีดเฉพาะด้านในเท่านั้น
3.ผ้าไหม – รีดผ้าหมาดๆ บนด้านนอกด้วยเตารีดอุ่น ๆ
4.ขนสัตว์ (ถัก) – กลับเสื้อเอาด้านในออกและกดทับให้เรียบแห้งหรือเกือบแห้งด้วยเตารีดไฟอุ่นหรือไอน้ำ
5.ขนสัตว์ (ทอ) – กดทับให้แห้งบนด้านนอกด้วยผ้าช่วยกดทับเพื่อป้องกันรอยไหม้ ใช้ไฟอุ่น ๆ หรือ เตารีดไอน้ำ
-กรณีพับผ้าใส่กระเป๋าเดินทางไม่ว่าผ้าชนิดใด จะเกิดรอยยับขึ้น มีคำแนะนำจากการปฏิบัติของผู้เขียน เมื่อเดินทางไปถึงที่พักให้นำเสื้อผ้าเหล่านั้นออกแขวนหรือผึ่งไว้บนเตียงก็
ได้ ถ้าเป็นผ้าใยธรรมชาติและใยกึ่งสังเคราะห์ให้พรมน้ำนิดหน่อย โดยเฉพาะตรงบริเวณรอยยับ ผ้าจะคลายตัวเมื่อโดนความชื้นและเมื่อข้ามคืนก็จะแห้งเองโดยไม่มีรอยยับ

อ่านเพิ่มเติม

หลอดแอลอีดี (LED) ซื้อได้ที่ไหน

หลอดแอลอีดี (LED) หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป หรือโซนเครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่อุปกรณ์ช่างของห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะเทสโก้โลตัสน่าจะมีทุกสาขา เท่าที่ได้ตรวจสอบพบว่าเทสโก้โลตัสสาขาสุราษฎร์ธานี สาขาท่าศาลา สาขาทุ่งสง มีขาย และมียี่ห้อของเทสโก้โลตัสเองด้วย จึงคาดว่าน่าจะมีขายทุกสาขา ดังภาพ

รูปภาพ

 

– ยี่ห้อของเทสโก้โลตัสเองขนาด 5 วัตต์ ราคา 390 บาท ทดลองใช้แล้วแสงสว่างมากกว่าหลอดตะเกียบ 20 วัตต์

– ยี่ห้อ LeKise ขนาด 8 วัตต์ ราคา 655 บาท